วันนี้คุณเภสัชกรจะมาพูดถึงโรคกรดไหลย้อน (enfermedad de reflujo gastroesofágico) รวมถึงให้คำแนะนำเล็กๆน้อยนะครับ มาดูกันเลย
โรคการไหลย้อนจากกระเพาะอาหารมาหลอดอาหาร หรือที่นิยมเรียกว่า โรคกรดไหลย้อน (enfermedad de reflujo gastroesofágico) คือภาวะที่มีกรดหรือน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร ไหลย้อนขึ้นมาบริเวณหลอดอาหารซึ่งหลอดอาหารเป็นอวัยวะที่ไม่ทนต่อกรด จึงทำให้เกิดการอักเสบของหลอดอาหาร ซึ่งโดยปกติ หลอดอาหารจะมีการบีบตัวไล่อาหารลงด้านล่างและหูรูด (Esfínter Esofágico Inferior/ Lower Esophagus Sphincter) ทำหน้าที่ป้องกันการไหลย้อนของน้ำย่อย กรด หรืออาหาร ไม่ให้ไหลย้อนขึ้นมาบริเวณหลอดอาหาร แต่ในปัจจุบัน หูรูดส่วนนี้ทำงานได้น้อยลงในบางคน ดูรูปภาพประกอบจะเข้าใจมากขี้นครับ
รูปภาพ : หลอดอาหารและกระเพาะอาหาร
โรคนี้พบในคนทั่วไป ทุกกล่ม ทุกช่วงอายุ แต่จะพบได้มากในคนอ้วน หรือสูบบุหรี่ และการไหลย้อนของกรด ถ้ามีมาก อาจไหลออกนอกหลอดอาหาร อาจทำให้มีผลต่อกล่องเสียง ลำคอ หรือปอดได้ ซึ่งหากละเลยไม่ไปพบแพทย์ เพื่อทำการรักษา อาจทำให้เรื้อรังกลายเป็นมะเร็งหลอดอาหารได้ อันตรายนะครับ
สาเหตุของโรคกรดไหลย้อน
อย่างที่กล่าวไปแล้วว่าโรคกรดไหลย้อนเกิดจากความผิดปกติของหูรูดหลอดอาหาร หรือความผิดปกติในการบีบตัวของหลอดอาหารในตัวผู้ป่วยเองแล้ว แต่ยังมีปัจจัยอื่นเสริมอีกด้วย เช่น
- กินเสร็จอิ่มๆ หรือกินอาหารเสร็จแล้วนอน
- Hernia de Hiato คือ โรคที่เกิดจาก กระเพาะอาหารส่วนต้น ยื่นเข้าไปกะบังลม
- สูบบุหรี่
- ดื่มสุรา หรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอลล์, น้ำอัดลม
- รับประทานอาหารประเภท ของทอด ของมัน หรืออาหารที่มีรสเปรี้ยวจัด เผ็ดจัด
- พบว่าสตรีตั้งครรภ์มีโอกาสเป็นโรคนี้สูง แต่มักจะหายหลังจากคลอดแล้ว
อาการในหลอดอาหาร
- เสียงแหบกว่าปกติโดยไม่ได้เป็นโรคอื่นใดที่เกี่ยวกับกล่องเสียง
- ปวดแสบปวดร้อนในหน้าอก หรือที่เรียกว่า Pirosis (สเปน) เนื่องจากกรดไปทำให้หลอดอาหารอักเสบ
- มีอาการจุกแน่นบริเวณหน้าอก เหมือนมีก้อนติดอยู่ในลำคอ หายใจไม่ออกเวลานอน
- กลืนอาหารลำบาก ถ้าเป็นมากจะเจ็บคอมากจนอาจจะกลืนอาหารแทบจะไม่ได้
- คลื่นไส้
- มีอาการเรอเปรี้ยว หรือรู้สึกถึงรสขมของน้ำดี รสเปรี้ยวของกรดในปากหรือลำคอ
อาการนอกหลอดอาหาร บริเวณกล่องเสียงและหลอดลม
- ไอเรื้อรัง เจ็บคอเรื้อรัง
- เสียงแหบ โดยเฉพาะในตอนเช้า เนื่องจากเวลานอน กรดจะไหลย้อนขึ้นมาได้มาก
- เป็นโรคปอดอักเสบ เจ็บหน้าอก
การรักษา
การรักษาโดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (cambio en el estilo de vida) แม้ว่าผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้นหรือหายดีแล้วโดยไม่ต้องรับประทานยาก็ตาม แต่ควรปรับเปลี่ยนนิสัยและการดำเนินชีวิตประจำวันเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอาการและเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย ที่สำคัญการรักษาด้วยวิธีนี้ควรทำอย่างต่อเนื่องด้วยนะครับ- งดการสูบบหรี่ หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอลล์ น้ำอัดลม ชา กาแฟ
- ลดอาหารมัน ของทอด ของหวาน ของเผ็ด ของเปรี้ยว
- รับประทานอาหารให้เป็นเวลา หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารก่อนนอนอย่างน้อย 3-4 ชั่วโมง
- ลดน้ำหนัก ให้อยู่ในเกณฑ์ที่พอดี เนื่องจากภาวะน้ำหนักเกินจะทำให้ความดันในช่องท้องมากขึ้น ทำให้กรดไหลย้อนได้มากขึ้น
- พยายามหลีกเลี่ยงอย่าให้เครียด
- ถ้าจะนอนหลังรับประทานอาหาร ควรรอประมาณ 3-4 ชั่วโมง เวลานอน ควรหนุนหัวเตียงให้สูงขึ้นประมาณ 6 - 10 นิ้วจากพื้นราบ โดยใช้วัสดุรองขาเตียง เช่น ไม้ อิฐ อย่ายกศีรษะให้สูงขึ้นโดยการใช้หมอนรองศีรษะ เพราะจะทำให้ความดันในช่องท้องเพิ่มมากขึ้น
ถ้าอาการไม่หายหรือว่าเป็นโรคนี้ซ้ำ ควรรีบพบเเพทย์โดยด่วนนะครับอย่าปล่อยเลยตามเลย เพราะกรดอาจจะลุกลามไปยังอวัยวะส่วนอื่นได้ โดยในกรณีนี้จะรักษาโดยการใช้ยา (Terapia farmacológica) จะได้ผลดีที่สุดเมื่อมีการอักเสบของหลอดอาหาร ถ้าไปที่ร้านขายยาคุณเภสัชกรก็จะจ่ายยาเพื่อรักษาอาการของโรคนี้ ซึ่งจะจำแนกได้เป็น 3 ชนิด ดังนี้
- Medications that neutralize stomach acid (antacids): ตัวยาลดกรด (Antiácidos) ใช้สำหรับผู้ป่วยที่อาการไม่รุนแรง ที่จะพบได้บ่อยก็จะมียา Almax (almagato), Dolcopin (amasilato)
- Medications that reduce the production of acid: ยาชนิดนี้ออกฤทธิ์ช้ากว่ายาตัวเเรกแต่ออกฤทธิ์นานกว่า ที่จะพบได้บ่อยก็จะมียา Ranitidina Ratio, Ranitidina Cinfa, Zantac (ranitidina), Pepcid (famotidina)
- Medications that block acid production: หรือ Inhibidores de bomba de protones ที่จะพบได้บ่อยก็จะมียา Omeprazol, Lanzoprazol เป็นยาที่มีประสิทธิภาพในการรักษาโรคกรดไหลย้อนที่แพทย์นิยมใช้ในปัจจุบัน
- Reflujo gastroesofágico/ reflujo โรคกรดไหลย้อน
- Pirosis ปวดแสบปวดร้อนในหน้าอก
- Angina อาการจุกแน่นบริเวณหน้าอก
- Disfagia/ Dificultad para tragar กลืนอาหารลำบาก
- Náuseas คลื่นไส้
- Tos crónica ไอเรื้อรัง
- Dolor de la garganta เจ็บคอ
- Disfonía เสียงแหบ
- Esofagitis หลอดอาหารอักเสบ
- Medicamento ยา
- Antiácidos ตัวยาลดกรด
หวังว่าข้อมูลดังกล่าวจะเป็นประโยชน์กับหลายๆคน โดยเฉพาะพี่น้องชาวไทยที่อยู่ในประเทศที่ใช้ภาษาสเปนในการสื่อสาร
ที่มาข้อมูล
http://www.medicinenet.com/heartburn_reflux/article.htm
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%94%E0%B9%84%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A2%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%99
http://es.wikipedia.org/wiki/Reflujo_gastroesof%C3%A1gico
ที่มาข้อมูล
http://www.medicinenet.com/heartburn_reflux/article.htm
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%94%E0%B9%84%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A2%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%99
http://es.wikipedia.org/wiki/Reflujo_gastroesof%C3%A1gico
0 comentarios :
Publicar un comentario