เคยได้ยินเกี่ยวกับ Sleep Apnea หรือภาวะหยุดหายใจชั่วคราวขณะหลับหรือเปล่าครับ


เคยได้ยินเกี่ยวกับ Sleep Apnea หรือภาวะหยุดหายใจชั่วคราวขณะหลับหรือเปล่าครับ? วันนี้มีโอกาสเขียนเกี่ยวกับความผิดปกตินี้ เพราะจำได้ว่ามีเพื่อนคนหนึ่งที่ผมเคยไปพักด้วย มีอาการคล้ายกับ Sleep Apnea เลยอยากเขียนมาเเชร์ ลองเข้าไปอ่านดูครับ ผมเขียนไม่ยาวมาก






อะไรคือ Sleep Apnea หรือภาวะหยุดหายใจชั่วคราวขณะหลับ?
Sleep Apnea หรือภาวะหยุดหายใจชั่วคราวขณะหลับ เป็นความผิดปกติทางระบบหายใจที่พบบ่อยที่สุด ซึ่งจะเกิดตอนที่เรานอนหลับ คำว่า Sleep Apnea หมายถึง ภาวะการหยุดหายใจมากกว่า 10 วินาที ซึ่งทำให้จำนวนอากาศที่เข้าไปในปอดจากการหายใจลดน้อยลงหรือไม่มีอากาศเข้าไปในปอดเลยก็ได้ ส่งผลให้จำนวนของ Oxygen ในเลือดลดลง และ CO2 ในเลือดเพิ่มจำนวนขึ้น พร้อมทั้งมีการตื่นระยะสั้นๆโดยไม่รู้ตัว ปกติแล้วการหายใจจะกลับมาเป็นปกติ และบางครั้งจะมาพร้อมกับอาการกรนเสียงดัง หรือไม่ก็มีเสียงที่คล้ายว่าสำลักอะไรสักอย่าง(choking)


โดยส่วนใหญ่แล้วภาวะหยุดหายใจขณะหลับที่พบนั้นจะเป็นประเภทที่มีการอุดกั้นของทางเดินหายใจ (obstructive sleep apnea) มีสาเหตุมาจากการคลายตัวของกล้ามเนื้อที่ทางเดินหายใจ การหนาตัวของเนื้อเยื่อผนังคอในผู้ที่มีน้ำหนักเกินมาก การโตของต่อมทอนซิลในเด็ก หรือภาวะเนื้องอกบริเวณทางเดินหายใจ เป็นต้น ซึ่งการที่อากาศต้องเดินทางผ่านทางเดินหายใจที่แคบลงสามารถก่อให้เกิดเสียงกรนขึ้นได้

อีกประเภทหนึ่งที่พบได้น้อยกว่านั่นคือ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับเนื่องความผิดปกติของการสั่งงานของสมอง(central sleep apnea) ภาวะนี้สมองส่งสัญญาณควบคุมที่ผิดปกติไปยังกล้ามเนื้อในระบบทางเดินหายใจ ทำให้เกิดการหยุดหายใจชั่วครู่


อาการผิดปกตินี้มักจะในผู้ชายมากว่าผู้หญิง (3:1) เนื่องจากผู้หญิงมีฮอร์โมนที่ช่วยป้องกันความผิดปกตินี้ แต่พบว่าผู้หญิงวัยทองมีโอกาสที่มีความผิดปกตินี้เท่ากันกับผู้ชาย คนที่มีน้ำหนักมากและคนที่เป็นโรคอ้วนมีโอกาสจะเป็นโรคนี้สูง นอกจากนี้บุคคลที่มีโครงสร้างของระบบทางเดินหายใจแคบ ไม่ว่าจะเพราะโครงสร้างแต่กำเนิด ภูมิแพ้ หรือผลจากการใช้ยาบางชนิด มีแนวโน้มที่จะมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับมากกว่าปกติ


แล้วภาวะการหยุดหายใจช่วงคราวส่งผลยังไงกับชีวิตของคุณ?

-
อาการง่วงมากผิดปกติในช่วงระหว่างวัน จนทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานหรือเรียนลดลง

-อาการอ่อนล้าเมื่อตื่นนอนตอนเช้า หรือรู้สึกว่านอนไม่เต็มอิ่มทั้งๆที่นอนพักผ่อนเต็มที่แล้ว ซึ่งจะส่งผลประสิทธิภาพในการทำกิจกรรมต่างๆ ส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุในผู้ที่ขับขี่ยานพาหนะหรืออาการเหนื่อยเรื้อรังได้


-ภาวะผิดปกติของระบบหายใจ การกรน ถือเป็นอาการหลักเนื่องจากการเกิดเสียงกรนเป็นลักษณะที่พบมากในผู้ที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับประเภทที่มีการอุดกั้นของทางเดินหายใจ และประเภทดังกล่าวเป็นประเภทที่พบได้มากดังที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น แต่มิได้หมายความว่าผู้ที่มีอาการกรนทุกคนจะมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ การกรนที่เกิดขึ้นอาจมีการหยุดเป็นช่วงๆร่วมกับการสำลักซึ่งการสังเกตดังกล่าวต้องอาศัยคนในครอบครัวหรือคนรอบตัวเป็นผู้สังเกต

-ความผิดปกติของระบบหมุนเวียนเลือด ความดันสูง ภาวะหัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ เจ็บหน้าอก อาการหัวใจล้มเหลว และอินฟาร์คของสมอง เนื่องจากช่วงที่เกิดภาวะหยุดหายใจชั่วคราวหัวใจจะเต้นช้าลง และหลังจายเริ่มหายใจเร็วกว่าปกติ


-ความผิดปกติด้านจิตใจและสติปัญญา ไม่มีสมาธิ มีอาการเศร้าซึม ความต้องการทางเพศลดลง อารมณเปลี่ยนแปลงได้ง่าย กระสังกระส่าย ปวดหัว (โดยเฉพาะตอนเช้า)


-ในเด็กอาจหงุดหงิดง่าย สมาธิจดจ่อต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งสั้น ท่านอนผิดปกติ หรือปัสสาวะราดที่นอนในเวลากลางคืน


โดยปกติแล้วผู้ที่มีความผิดปกตินี้จะไม่รู้ตัว แต่ถ้าหากว่าคุณมีอาการดังที่ผมได้กล่าวมา ก็อาจจะเป็นไปได้ว่าคุณมีอาการนี้ก็ได้นะครับ


อันตรายหรือไม่? หายานอนหลับมารับประทานเองได้หรือไม่?

การหยุดหายใจขณะหลับทำให้ระดับออกซิเจนในเลือดลดลง ส่งผลให้สมองได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ จึงมีการกระตุ้นร่างกายให้ตื่นขึ้นมาเพื่อหายใจ เมื่อเกิดการหยุดหายใจบ่อยๆ ผู้ป่วยจึงหลับๆตื่นๆตลอดคืนและไม่ได้พักผ่อนอย่างเพียงพอ ทำให้รู้สึกว่าตนเองนอนไม่หลับและตื่นขึ้นมาไม่สดชื่น จากระดับออกซิเจนในเลือดที่ลดลงประกอบกับการพักผ่อนที่ไม่เพียงพอ ทำให้เกิดการหลั่งฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับความเครียด ส่งผลเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจ และมีโอกาสเพิ่มความเสี่ยงของภาวะความดันโลหิตสูง หัวใจเต้นผิดจังหวะ และหัวใจวาย นอกจากนี้ภาวะหยุดหายใจขณะหลับที่ไม่ได้รับการรักษายังสามารถนำไปสู่การใช้พลังงานของร่างกายที่เปลี่ยนแปลงไป จึงเพิ่มความเสี่ยงของภาวะอ้วนและเบาหวาน
จากที่กล่าวมาข้างต้น ผู้ป่วยบางรายที่รู้สึกว่าตนเองนอนไม่หลับนั้นจะพยายามหายานอนหลับมารับประทางเองเพื่อให้นอนหลับได้ดีขึ้น ซึ่งยานอนหลับบางชนิดที่ออกฤทธิ์กดประสาทแรง เช่น midazolam, alprazolam และ diazepamจะมีผลกดการกระตุ้นของร่างกายที่ทำให้ตื่นขึ้นเมื่อระดับออกซิเจนในเลือดลดต่ำลง ดังนั้นการใช้ดังกล่าวอาจทำให้ผู้ป่วยถึงกับเสียชีวิตจากการหยุดหายใจได้ เพราะฉะนั้นแล้วจึงไม่ควรหายามาใช้เอง




ควรปฏิบัติตนอย่างไร?

เมื่อเริ่มสังเกตหรือสงสัยว่าอาจมีภาวะดังกล่าวควรรีบพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและการรักษาที่เหมาะสมต่อไป



มีทางรักษาหรือป้องกันมั๊ย?

การรักษานั้นต้องดูเป็นกรณีไป ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ แต่สามารถเริ่มป้องกันง่ายโดยการเปลี่ยน life style หรือ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมนั่นเอง ซึ่งจะช่วยลดความรุนแรงของความผิดปกตินี้ได้ 


1.การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
  • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • ห้ามใช้ยาที่มีฤทธิ์กดประสาทส่วนกลางแรง เช่น ยานอนหลับ ยากล่อมประสาทบางชนิด
  • ควบคุมน้ำหนักหากมีภาวะน้ำหนักเกิน
  • เปลี่ยนท่าทางในการนอนเป็นท่านอนตะแคง หลีกเลี่ยงท่านอนหงาย เนื่องจากอาจทำให้เกิดการอุดกั้นของทางเดินหายใจได้ง่ายกว่าท่านอนตะแคง
  • เลิกการสูบบุหรี่
2.การใช้เครื่องมือ
  • อุปกรณ์ mouthpiece ช่วยปรับให้กรามล่างและลิ้นอยู่ในลักษณะที่ไม่ปิดกั้นทางเดินหายใจขณะนอนหลับ
  • เครื่องมือcontinuous positive airway pressure (CPAP) ลักษณะเป็นหน้ากากที่จะให้ลมที่ความดันเป็นบวกออกมา ทำให้ทางเดินหายใจไม่เกิดการอุดกั้น
3.การผ่าตัด

ต้องอยู่ภายใต้ดุลยพินิจและการดูแลของแพทย์



Share on Google Plus

About All bout Spain

This is a short description in the author block about the author. You edit it by entering text in the "Biographical Info" field in the user admin panel.

0 comentarios :

Publicar un comentario